เหรียญปูรณกลศในสมัยทวารวดี

https://www.facebook.com/SiamCoin

อาณาจักรทวารวดี เป็นดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อตัวขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑ คำว่า “#ทวารวดี” มีการบันทึกไว้ในจดหมายเหตุของหลวงจีนเหี้ยนจัง (Hiun Tsang) และหลวงจีนอี้จิง (I-Tsing)ได้กล่าวถึงอาณาจักร โถโลโปตี้ (Tolopoti) ตรงกับคำไทยว่า ทวารวดี ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า) และเมืองอีศานปุระ (เขมร) จากการค้นพบแหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงมีการสันนิษฐานว่า อาณาจักรทวารวดีน่าจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย และแผ่ขยายอิทธิพลสู่ภูมิภาคต่างๆ

อาณาจักรทวารวดี ปกครองด้วยกษัตริย์จากหลักฐานการขุดค้นที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และการค้นพบแผ่นทองแดงศิลปะสมัยทวารวดี กล่าวถึงพระนาม พระเจ้าหรรษวรมัน  ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นพระนามของกษัตริย์แห่งทวารวดี นอกจากนี้ ยังมีการพบเหรียญเงินที่ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม ปรากฏอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต ถอดความได้ว่า “ศรีทวารวตี ศวรปุณยะ” ซึ่งแปลว่า “#บุญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี” (ตามแบบเหรียญที่เห็นนี้) เป็นหลักฐานยืนยันถึงอาณาจักรทวารวดี โดยมีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง เชื่อกันว่า เป็นเหรียญที่ทำขึ้นตามคติความเชื่อในทางพุทธศาสนา

เหรียญเงินถือเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองของอาณาจักรทวารวดี แสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับอาณาจักรภายนอก รวมถึงการค้นพบเหรียญเงินในที่ต่างๆ ทำให้ทราบถึงขอบเขตของอาณาจักรทวารวดีได้เป็นอย่างดี

จากหลักฐานข้างต้นจึงกล่าวได้ว่า ในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ปูรณกลศเป็นสัญลักษณ์มงคลที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง การก่อกำเนิด และการสร้างสรรค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียผ่านคติความเชื่อทางศาสนาทั้งในศาสนาพุทธและพราหมณ์ ที่เผยแผ่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิพร้อมกับการติดต่อค้าขายของพ่อค้าชาวอินเดีย โดยปรากฏหลักฐานในงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ เนื่องในศาสนา นอกจากนี้ ยังใช้ร่วมกับสัญลักษณ์มงคลอื่นๆ เพื่อสื่อความหมายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อพิธีกรรมที่แสดงถึงอำนาจและฐานะของกษัตริย์สมัยทวารวดี

ปัจจุบันเหรียญปูรณกลศแบบนี้ขุดค้นพบเจอในประเทศไทยราวๆ เพียงแค่ 30 เหรียญเท่านั้น พบส่วนใหญ่ที่สิงห์บุรี นครปฐม และชัยนาท เหรียญที่มีจารึกหาได้น้อยมาก หายากมากๆ

ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *