เจว็ด เทวดาผู้พิทักษ์

https://www.facebook.com/SiamCoin

เจว็ด ในสมัยโบราณ มักจะทำเป็นแผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมาเขียน หรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ใช้ตั้งในศาลพระภูมิ หรือศาลเจ้าแล้วอัญเชิญพระภูมิเจ้าที่ หรือเทพารักษ์มาสิงสถิต มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ ที่พบส่วนใหญ่ มือหนึ่งจะถือพระขรรค์ อีกมือถือสมุด บางทีก็เป็นถือพระขรรค์ข้างหนึ่งอีกข้างเป็นถุงเงิน ในยุคต่อๆมามีการสร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ทำด้วยโลหะ เช่น พระสยามเทวาธิราช แต่สำหรับของ พระสยามเทวาธิราช จะแต่งองค์แบบกษัตราธิราช หล่อด้วยทองคำ ซึ่งถือว่าเป็น เทพารักษ์ ประจำแผ่นดินสยามมาแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่๔

เจว็ด นี้ เป็นของมงคลตามคติพรามณ์ ที่เชื่อว่า เทพารักษ์ หรือ พระภูมิเทวดา จะทำหน้าที่พิทักษ์เรือน และเขตที่ตั้งบ้านเรือน ของผู้เป็นเจ้าของที่ดินตลอดจนผู้อยู่อาศัยให้พ้นจากภัยทั้งปวงในสมัยรัชกาลที่๕ มีการสร้างพระคลังมหาสมบัติ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์  ซึ่งหมายถึง อำนาจในการปกป้องอาณาเขต และลงโทษผู้ที่ล่วงละเมิดเข้ามา  ส่วนพระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัว ซึ่งหมายถึงสุดยอดแห่งทรัพย์สมบัติในพระคลังหลวง ในทางพุทธศาสนาเปรียบดอกบัวเสมือนปัญญา ซึ่งมีค่าเหนือทรัพย์สินอื่นใดๆ

หากเราย้อนไปดูภาพเก่าๆของ ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ จะเห็น เจว็ดมือขวาทรงดอกบัว มือซ้ายทรงพระขรรค์ วางอยู่ที่ด้านล่างขวามือของภาพ ซึ่งเชื่อว่าเจว็ดนี้น่าจะสร้างในราวสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึง รัชกาลที่๔ ปัจจุบันไม่มีแล้วแต่มีการวาดภาพเจว็ด อยู่หนือประตูทางเข้าในแต่ละด้าน

ในสมัยโบราณจะพบเจว็ดแบบนี้ตามด่านขนอน ที่จะเก็บภาษีต่างๆที่ผ่านเข้ามา ของ​ กรมท่า​ ซึ่ง เป็นส่วนราชการที่สังกัดกรมพระคลัง ในส่วนที่ทำหน้าที่ ติดต่อกับต่างชาติ เรื่องการค้าการขายกับต่างประเทศ ท่านจึงเป็นเป็นเทวดาในส่วนที่ดูแล ทรัพย์สมบัติ และ ความมั่นคง เพราะเป็นผู้ที่อยู่เฝ้าด่านที่มีหน้าที่เก็บอากรและส่วยจากทรัพยากรทั้งปวง อันเกิดในแผ่นดินเข้าพระคลังมหาสมบัติ

เจว็ดไม้ตามภาพ เชื่อว่า สร้างในราวสมัยแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ ถึง รัชกาลที่ ๔ น่าจะเป็นหนึ่งในเจว็ดของเทวดาผู้พิทักษ์ทรัพย์สินของแผ่นดิน ที่เคยประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญอยู่ตามด่านขนอนที่ใดที่หนึ่ง ในยุคโบราณเมื่อราวนานมากกว่า ๑๖๐ ปีล่วงมาแล้ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *