พระตรัยรัตนวัชรยาน(พระตรัยกาย)

https://www.facebook.com/SiamCoin

เดิมพระต้นแบบเป็นพระโบราณศิลปะขอม ที่สร้างตามคติ พุทธลัทธิวัชรยาน  เป็น ศิลปะเขมรแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอังกอร์ธม ซึ่งทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และด้วยเหตุที่ประ กอบด้วยรูปเคารพถึงสามองค์ในพิมพ์เดียว บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า “พระตรีกาย”

ส่วนรูปเคารพที่อยู่เบื้องขวาขององค์ประธานนั้น(ด้านซ้าย) มีลักษณะ 4 กร ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งหมายถึงผู้มองลงมาจากเบื้องบนด้วยความกรุณา หรือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก ที่จุติจากพระธยานิพุทธเจ้าหรือพระอมิตพุทธ(ผู้มีแสงสว่างมิรู้จบ) ด้วยเหตุนี้ พระอวโลกิเตศวรจึงปรากฏรูปพระธยานิพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิอยู่เหนือศิราภรณ์(อาภรณ์ประดับเศียร) พระกรทั้ง 4 ทรงถือ พวงประคำ คัมภีร์ ดอกบัว และหม้อน้ำมนต์

ส่วนด้านขวามือ พระนางปรัชญาปารมิตา เทพีแห่งสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด ในเทวาลัยที่มีอิทธิพลพุทธมหายานมักสร้างรูปเคารพของพระนางไว้ในครรภคฤห์ ทรงปรากฏในรูปมหาคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร ได้ชื่อว่าเป็นพุทธมารดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีวรกายสีขาว เศียรเดียว สองพระกร อาจพบในท่าแสดงธรรมเทศนา หรือถือบัวขาบสายเดียวทั้งสองพระหัตถ์

รูปเคารพตรงกลางคือพระพุทธเจ้า(พระปางนาคปรก)ที่ประทับนั่งสมาธิอยู่เหนือขนดพญานาคสูง ๓ ชั้น ซึ่งแผ่พังพานอยู่เหนือพระเศียรรวม ๗ เศียร

สำหรับพระพิมพ์โบราณลักษณะเดียวกันนี้มีคนเรียกอีกชื่อว่า “นารายณ์ทรงปืน” น่าจะมาจากการมองรูปองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรมีลักษณะ 4 กร เหมือนกับพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ และพระองค์ยังทรงถือสายบัวปัทมะที่ยาวเหยียดคล้ายกับคันศรของพระนารายณ์ ครูบาโบราณาจารย์บอกว่า ในสมัยก่อนมักจะเรียกอาวุธที่พุ่งออกไปว่า “ปืน” ดังนั้น การเรียกว่า “ทรงปืน” น่าจะสื่อถึงการ “ทรงศร” ซึ่งก็คือสายบัวชมพูหรือปัทมะขององค์อวโลกิเตศวร

นางปรัชญาปารมิตาเทพีแห่งปัญญา ทรงเป็นเทวนารีในพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน อยู่ประจำทิศตะวันตก

มหามนต์ในปรัชญาปารมิตานี้ เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า

 เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ เป็นมนต์อันประหารเสียซึ่งสรรพทุกข์ทั้งปวง

ให้จงกล่าวมนต์ดังนี้ :

คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา

तद्यथा- गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा।

(ปกตินั้น บทธารณี นั้นมักจะไม่แปล แต่หากแปลจะแปลว่า

จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *