การลอยเคราะห์กับการลอยกระทงเหมือนหรือต่างกัน?

https://www.facebook.com/SiamCoin

#การลอยเคราะห์กับการลอยกระทงเหมือนหรือต่างกัน?

ประเพณีลอยเคราะห์ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวไทยทางภาคใต้ ซึ่งอยู่ติดกับทะเล โดยนำแบบอย่างของชาวฮินดูในประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลมาใช้

*คำว่า #เคราะห์ (พราหมณ์) ตรงกับพุทธว่า #อุปัทวะ คือสิ่งที่คอยทำให้ขัดข้อง ขุ่นมัว มัวหมอง เลวร้าย

การลอยเคราะห์ ก็คือ การนำสิ่งไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง ออกจากร่างกาย ครอบครัว หมู่บ้าน  สมัยก่อนนิยมประกอบพิธีในเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม เพราะเป็นฤดูแล้ง สถานที่ประกอบพิธีส่วนมากจะเป็นสถานที่ใกล้ๆชายทะเล

*ส่วนทางเหนือเรียก #การลอยสัพเคราะห์

ในตำราพิชัยสงคราม มีความเชื่อกันว่า กฎแห่งกรรม วิบากกรรมมีจริง แต่ทำอย่างไรจะให้หนักเป็นเบา และจากเบา ทำให้ไม่มีเลย    พิธีลอยกรรมมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย โบราณบอกว่าลอยทุกข์ ลอยโศก ลอยโรค ลอยภัย ลอยเสนียดจัญไร ลอยความยาก ความจน ต่าง ๆ นานา เช่น หายจากโรคภัยไข้เจ็บ หายจากความทุกข์ ร้อนกายร้อนใจ หายจากสิ่งที่เป็นอัปมงคลต่าง ๆ หายจากการหลอกหลอน และจองเวรจองกรรมจากภูตผีปิศาจ เจ้ากรรมนายเวร และจะอุดมพรั่งพร้อมไปด้วยความเป็นมงคลต่าง ๆ เช่น เลื่อนยศตำแหน่งหน้าที่การงาน ประกอบธุรกิจ การค้า มีความเจริญรุ่งเรือง ทำอะไรก็สำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ

#วิธีการลอยสัพเคราะห์

 ๑.  กระทงใบตอง ๑ ใบ

๒.  ตัดเล็บมือเล็บเท้าทั้ง ๑๐ เล็บ อย่างละหน่อย

๓.  ตัดผมนิดหน่อย

๔.  เอาผ้าขาวหรือกระดาษทิชชู่เช็ดหน้า เช็ดขี้ตา และน้ำมูก เอาของทั้งหมดใส่ในกระทงแล้วจุดธูป ๓๒ ดอก  จากนั้น

ว่า นะโม ๓ จบ

             ว่าคาถา “ ปาสุอุชา “  ( ๒ จบ )

แล้วกล่าวคำอธิษฐานดังนี้

ข้าพเจ้าชื่อว่า………เกิดวันที่ ……….อายุ…………อยู่บ้านเลขที่……….จะขอทำพิธีลอยสัพพระเคราะห์ด่วน  ต่อองค์แม่พระคงคาขอได้โปรดเมตตารับทราบและนำส่งยังสถานที่อันควรด้วยเทอญ

     จากนั้น #ให้ปักธูปลงที่ริมตลิ่ง แล้วจึงนำกระทงและของทั้งหมดลอยลงน้ำไป เมื่อลอยแล้ว ให้หันหลังกลับเดินจากไปทันที #ห้ามหันกลับมามองอีก  #การลอยต้องลอยในน้ำไหลเท่านั้นน้ำนิ่งในบึงในบ่อไม่ได้เด็ดขาด ต่อไปให้ทำน้ำมนต์อาบ ๓ วันติดต่อกัน

ส่วน #พิธีลอยกระทงนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป กระทำเพื่อมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็น #การบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็น #บูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา

โดยจะมีคำสวดถวายต่างจากลอยเคราะห์คือ

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ

นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ

อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ

แต่ปัจจุบันหลายคนเอาพิธีกรรมที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์การลอยต่างกันมาผสมปนเปกัน  ซึ่งข้อสังเกตการลอยเคราะห์ จะใส่เล็บหรือผมลงไปด้วยและจะปักธูปไว้ที่ริมตลิ่ง เมื่อลอยไปแล้วจะไม่หันไปมองกระทงที่ลอยเคราะห์อีกเลย และจะลอยในบ่อไม่ได้เด็ดขาด ดังนั้นใครอยากลอยแบบไหน ก็ขอให้อยู่ในดุลยพินิจความเชื่อและศรัทธาของแต่ละท่านแต่ละบุคคลไป นะครับ

การลอยกระทง เป็นการลอยเพื่อขอพร เป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่การลอยเคราะห์ เป็นการลอยเอาสิ่งอัปมงคลสิ่งไม่ดีให้ออกจากชีวิตไป มีพิธีการที่ต่างกัน สถานที่ต่างกัน ถ้าทำถูกวิธีก็จะเป็นมงคลแก่ตนเองและครอบครัว แต่ถ้าจะไปกับคนที่เรารักก็แนะนำลอยกระทงน่าจะดีกว่าการลอยเคราะห์ แค่รูปแบบกระทงที่ใช้ก็ต่างกัน แต่ถ้ารู้ทั้งรู้ ยังพาคนรักไปลอยเคราะห์คู่กันก็ให้ระวังคนข้างๆ จะเคืองเอาได้นะคร๊าบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *